BOONCHAI TECHAUMNAT
บุญชัย เตชะอำนาจ
HV ENGINEERING & BIOELECTRONICS
Dept. of Electrical Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University
HIGH-VOLTAGE RESEARCH TOPICS
Our Current Focus
ELECTROMECHANICS OF PARTICLES IN INSULATING GAS
กลศาสตร์ไฟฟ้าของอนุภาคในระบบฉนวนก๊าซ
อนุภาคในระบบฉนวนก๊าซ เช่น GIS เป็นสาเหตุของความล้มเหลวในการฉนวนระหว่างการใช้งาน อนุภาคที่อยู่ในภายในระบบสามารถเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่สนามไฟฟ้าสูง และกระตุ้นในเกิดดิสชาร์จได้ งานในส่วนนี้เป็นการทดลองเพื่อดูพฤติกรรมของอนุภาค ภายใต้สนามไฟฟ้า และหาวิธีการยึดจับอนุภาคด้วยแรงทางไฟฟ้า
BIOELECTRONICS TOPICS
Our Current Focus : Lab on chip technology
CELL/PARTICLE SEPARATION BY DIELECTROPHORESIS (DEP)
การคัดแยกเซลล์/อนุภาคด้วยไดอิเล็กโทรโฟเรซิส
ไดอิเล็กโทรโฟเรซิสเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับวัตถุ ภายใต้สนามไฟฟ้าแบบไม่สม่ำเสมอ งานวิจัยในส่วนนี้ประยุกต์ใช้แรงจากไดอิเล็กโทรโฟเรซิสในการคัดแยกอนุภาคที่แตกต่างขนาดกัน คัดแยกเซลล์ออกจากอนุภาค หรือคัดแยกเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ
การคัดแยกใช้ระบบของไหลจุลภาคที่ประกอบด้วยช่องทางไหลและไมโครอิเล็กโทรด ชิปของไหลที่สร้างขึ้นสามารถคัดแยกเซลล์ติดเชื้อออกจากเซลล์ปกติได้ แม้ในกรณีที่จะมีอัตราส่วนของเซลล์ติดเชื้อเพียง 1 ต่อ 1 ล้านเซลล์ปกติ
IMPEDANCE SPECTROSCOPY OF BIOLOGICAL PARTICLES
ลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์แปรเปลี่ยนตามความถี่ไฟฟ้าที่พิจารณา เราสามารถนำลักษณะทางไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ ในการบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของเซลล์สิ่งมีชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ การเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ หรือที่เยื่อหุ้มเซลล์ ที่เกิดจากการเติบโต การตาย การติดเชื้อของเซลล์ได้
ห้องปฏิบัติการวิจัยทาง bioelectronics ใช้ระบบของไหลจุลภาค ในการวัดอิมพีแดนซ์ของเซลล์ โดยอาศัยไมโครอิเล็กโทรดที่ต่อกับระบบวัดด้วย Lock-in amplifier หรือ Impedance analyzer
OPTIMIZATION OF ELECTRIC PULSES FOR ELECTROPORATION
การหาพัลส์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำอิเล็กโทรพอเรชัน
อิเล็กโทรพอเรชันเป็นการกระตุ้นเซลล์ด้วยสนามไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการ breakdown ของเยื่อหุ้มเซลล์ เราสามารถใช้ประโยชน์อิเล็กโทรพอเรชันในการกระตุ้นให้เซลล์ตาย หรือนำสสารต่างๆ เช่น ดีเอ็นเอ เข้าสู่ภายในเซลล์ได้
งานวิจัยนี้ใช้ช่องทางไหลจุลภาค ควบคุมให้สนามไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้ากระจายในรูปแบบที่ต้องการ และศึกษาเงื่อนไขของพัลส์สนามไฟฟ้าที่เหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดอิเล็กโทรพอเรชันแบบชั่วครู่ ซึ่งเซลล์สามารถคืนสภาพได้ หลังจากที่ตัดสนามไฟฟ้าออกแล้ว
ADDITIONAL INFORMATION
ข้อมูลเพิ่มเติม
BEST PAPER AWARD
บทความเรื่อง "Investigation of the effect of ion diffusivity on the ion flow field simulation" (แคทลียา ชูพุ่ม) ได้รับรางวัล Best paper award จากการประชุมวิชาการ ECTI-CON 2022
บทความดีเด่น
บทความเรื่อง "การศึกษาไดอิเล็กโตรโฟเรซิสและอิเล็กโตรโรเตชันของเซลล์ติดเชื้อมาลาเรีย" (ผศ.ดร. นิติพงศ์ ปานกลาง) ได้รับรางวัลบทความดีเด่น จากการประชุมวิชาการ EECON 44 ในสาขา วิศวกรรมชีวการแพทย์
CONGRATULATION TO NEW GRADUATES!
ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ทุกคน ประจำปี 2564
CONTACT US
High-Voltage Laboratory, Department of Electrical Engineering
Chulalongkorn University
254 Phaya Thai Rd, Khwaeng Wang Mai, Khet Pathum Wan, Krung Thep Maha Nakhon 10330, Thailand
02 218 6553
02 218 6555
A tribute to Dr. Komson Petchraks
Assoc. Prof. Komson Petchraks passed away in November 2022.
He has been my great senior for more than 20 years.
Though nobody is perfect, I remember how respectable and understanding he always was.
It was my great pleasure to be in the same HV lab with him.